วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ประวัติ

 Homepage






พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๓ ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ. ๑๘๒๒ ถึงประมาณ พ.ศ. ๑๘๔๑ พระองค์ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากว่าเจ็ดร้อยปี

พระราชประวัติ

พระประสูติกาล
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓ ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับนางเสือง พระเชษฐาองค์แรกสิ้นพระชนม์ตั้งแต่พ่อขุนรามคำแหง ยังทรงพระเยาว์ พระเชษฐาองค์ที่สองทรงพระนามตามศิลาจารึกว่า "พระยาบานเมือง" ซึ่งได้เสวยราชย์ต่อจากพระราชบิดา และเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว พ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็เสวยราชย์แทนต่อมา
ตามพงศาวดารโยนก พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งสุโขทัย พ่อขุนเม็งรายมหาราชแห่งล้านนา และพ่อขุนงำเมืองแห่งพะเยา เป็นศิษย์ร่วมพระอาจารย์เดียวกัน ณ สำนักพระสุตทันตฤๅษี ที่เมืองละโว้ จึงน่าจะมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน โดยพ่อขุนเม็งรายประสูติเมื่อ พ.ศ. ๑๗๘๒ พ่อขุนรามฯ น่าจะประสูติในปีใกล้เคียงกันนี้

พระนาม
เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีพระชนมายุสิบเก้าพรรษา ได้ทรงทำยุทธหัตถีมีชัยต่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด (อยู่บนน้ำแม่สอดใกล้จังหวัดตาก แต่อาจจะอยู่ในเขตประเทศพม่าในปัจจุบัน) พระราชบิดาจึงทรงขนานพระนามว่า "พระรามคำแหง" ซึ่งแปลว่า "พระรามผู้กล้าหาญ"

ราชบัณฑิตยสถานสันนิษฐานว่า พระนามเดิมของพระองค์คือ "ราม" เพราะปรากฏพระนามเมื่อเสวยราชย์แล้วว่า "พ่อขุนรามราช" อนึ่ง สมัยนั้นนิยมนำชื่อปู่มาตั้งเป็นชื่อหลาน ซึ่งตามศิลาจารึกหลักที่ ๑๑ พระราชนัดดาของพระองค์มีพระนามว่า "พระยาพระราม" และในชั้นพระราชนัดดาของพระราชนัดดา ในเหตุการณ์การแย่งชิงราชสมบัติกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๑๙๖๒ ตามพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ปรากฏเจ้าเมืองพระนามว่า "พระยาบาลเมือง" และ "พระยาราม"

การเสวยราชย์
นายตรี อมาตยกุล ได้เสนอว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชน่าจะเสวยราชย์ พ.ศ. ๑๘๒๐ เพราะเป็นปีที่ทรงปลูกต้นตาลที่สุโขทัย
ศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต จึงได้หาหลักฐานมาประกอบพบว่า กษัตริย์ไทยอาหมถือประเพณีทรงปลูกต้นไทรตอนขึ้นเสวยราชย์อย่างน้อยเจ็ดรัชกาลด้วยกัน ทั้งนี้ เพื่อสร้างโชคชัยว่ารัชกาลจะอยู่ยืนยงเหมือนต้นไทร อนึ่ง ต้นตาลและต้นไทรเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของลังกา

การสวรรคต
จากจดหมายเหตุจีน พ่อขุนรามคำแหงมหาราชสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๑๘๔๑ และพระยาเลอไทยซึ่งเป็นพระราชโอรสได้เสวยราชย์แทนในปีนั้น

พระราชกรณียกิจ
รัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นยุคที่กรุงสุโขทัยเฟื่องฟูและเจริญขึ้นกว่าเดิมเป็นอันมาก ระบบการปกครองภายในก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยอย่างมีประสิทธิภาพ มีการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศทั้งในด้านเศรษฐิกิจและการเมือง ประชาชนอยู่ดีกินดี สภาพบ้านเมืองก้าวหน้าทั้งทางเกษตร การชลประทาน การอุตสาหกรรม และการศาสนา อาณาเขตของกรุงสุโขทัยได้ขยายออกไปกว้างใหญ่ไพศาล

การบริหารรัฐกิจ
เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงขจัดอิทธิพลของเขมรออกไปจากกรุงสุโขทัยได้ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ การปกครองของกษัตริย์สุโขทัยได้ใช้ระบบปิตุราชาธิปไตยหรือ "พ่อปกครองลูก" ดังข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า
...เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่อบ้านท่อเมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู... 

ข้อความดังกล่าวแสดงการนับถือบิดามารดา และถือว่าความผูกพันในครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญ ครอบครัวทั้งหลายรวมกันเข้าเป็นเมืองหรือรัฐ มีเจ้าเมืองหรือพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว

ปรากฏข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใช้พระราชอำนาจในการยุติธรรมและนิติบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้ ๑) ราษฎรสามารถค้าขายได้โดยเสรี เจ้าเมืองไม่เรียกเก็บจังกอบหรือภาษีผ่านทาง ๒) ผู้ใดล้มตายลง ทรัพย์มรดกก็ตกแก่บุตร และ ๓) หากผู้ใดไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีพิพาท ก็มีสิทธิไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้หน้าประตูวังเพื่อถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ได้

นอกจากนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชยังทรงใช้พุทธศาสนาเป็นเครื่องช่วยในการปกครอง โดยได้ทรงสร้างพระแท่นมนังคศิลาบาตรขึ้น เพื่อให้พระเถรานุเถระแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันพระ ส่วนวันธรรมดาพระองค์จะเสรด็จประทับเป็นประธานให้เจ้านายและข้าราชการปรึกษาราชการร่วมกัน

พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพ่อขุนรามคำแหง มีดังนี้ ๑. ด้านการเมืองการปกครอง พระราชกรณียกิจทางด้านการเมืองการปกครองของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประกอบด้วย ๑.๑ ทรงทำสงครามขยายอาณาเขตไปอย่างกว้างขวางมากที่สุดในสมัยสุโขทัย ๑.๒ โปรดให้สร้างพระแท่นศิลาขึ้น เรียกว่า "พระแท่นมนังคศิลาบาตร” ตั้งไว้กลางดงตาลสำหรับไว้ให้พระภิกษุสงฆ์ขึ้นแสดงธรรมสวนะและทรงใช้เป็นที่ประทับสำหรับอบรมสั่งสอนบรรดาขุนนางและพสกนิกรในวันธรรมดา ๑.๓ ทรงเอาพระทัยใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎรอย่างใกล้ชิด พระองค์โปรดให้แขวนกระดิ่งไว้ที่พระดูพระราชวัง เพื่อให้ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนและไม่ได้รับความเป็นธรรม ไปสั่นกระดิ่งกราบทูลความเดือดร้อนของตนให้พระองค์ทราบ พระองค์ก็จะทรงตัดสินด้วยพระองค์เอง ๒. ด้านเศรษฐกิจ พระราชกรณียกิจทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญของพ่ขุนรามคำแหงมหาราช ประกอบด้วย ๒.๑ โปรดให้สร้างทำนบกักน้ำที่เรียกว่า "สรีดภงส์” เพื่อนำน้ำไปใช้ในตัวเมืองสุโขทัยและบริเวณใกล้เคียง โดยอาศัยแนวคันดินที่เรียกว่า "เขื่อนพระร่วง” ทำให้มีน้ำสำหรับใช้ในการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภคในยาม ที่บ้านเมืองขาดแคลนน้ำ ๒.๒ ทรงส่งเสริมการค้าขายภายในราชอาณาจักรเป็นอย่างดีด้วยการไม่เก็บภาษีผ่านด่านหรือ "จกอบ” (จังกอบ) จากบรรดาพ่อค้าที่เข้ามาค้าขายในกรุงสุโขทัย ทำให้การค้าขายขายออกไปอย่างกว้างขวาง ๓. ด้านวัฒนธรรม พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทางด้านวัฒนธรรม มีดังนี้ ๓.๑ ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้แทนตัวอักษรขอมที่เคยใช้กันมาแต่เดิม เมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ เรียกว่า "ลายสือไทย” และได้มีการพัฒนาการมาเป็นลำดับจนถึงอักษรไทยในยุคปัจจุบัน ทำให้คนไทยมีอักษรไทยใช้มาจนถึงทุกวันนี้ ๓.๒ ทรงรับเอาพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ลัท ธิลังกาวงศ์ จากลังกา ผ่านเมืองนครศรีธรรมราช มาประดิษฐานที่เมืองสุโขทัย ทำให้พระพุทธศาสนาวางรากฐานมั่นคงในอาณาจักรสุโขทัย และเผยแผ่ไปยังหัวเมืองต่างๆในราชอาณาจักรสุโขทัย จนกระทั่งได้กลายเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาจนถึงทุกวันนี้ ๓.๓ โปรดให้จารึกเรื่องราวบางส่วนที่เกิดในสมัยของพระองค์ โดยปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ทำให้คนไทยยุคหลังได้ทราบ และนักประวัติศาสตร์ได้ใช้ศิลาจารึกดังกล่าวเป็นข้อมูลหลักฐานในการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวประวัติศาสตร์สุโขทัย ๔. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พระราชกรณียกิจทางด้านความสำคัญระหว่าง ประเทศของพ่อขุนรามคำแหง ได้แก่ การใช้ความสัมพันธ์ทางด้านการทูตและความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม โดยเฉพาะทางด้านพระพุทธศาสนาแทนการทำสงคราม ทำให้สุโขทัยมีแต่ความสงบร่มเย็น ไม่เกิดสงครามกับแคว้นต่างๆ ในสมัยของพระองค์ และได้หัวเมืองประเทศราชเพิ่มขึ้นอีกด้วย

อาณาเขต
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางไพศาล คือ
ทิศตะวันออก ทรงปราบได้เมืองสรหลวงสองแคว (พิษณุโลก), ลุมบาจาย, สะค้า (สองเมืองหลังนี้อาจอยู่แถวลุ่มแม่น้ำน่านหรือแควป่าสักก็ได้), ข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปถึงเวียงจันทน์และเวียงคำในประเทศลาว
ทิศใต้ ทรงปราบได้คนที (บ้านโคน จังหวัดกำแพงเพชร), พระบาง (นครสวรรค์), แพรก (ชัยนาท), สุพรรณภูมิ, ราชบุรี, เพชรบุรี, และนครศรีธรรมราช โดยมีฝั่งทะเลสมุทร (มหาสมุทร) เป็นเขตแดน
ทิศตะวันตก ทรงปราบได้เมืองฉอด, เมืองหงสาวดี และมีสมุทรเป็นเขตแดน
ทิศเหนือ ทรงปราบได้เมืองแพร่, เมืองม่าน, เมืองพลัว (อำเภอปัว น่าน), ข้ามฝั่งโขงไปถึงเมืองชวา (หลวงพระบาง) เป็นเขตแดน

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ทรงทำพระราชไมตรีกับพ่อขุนเม็งรายมหาราชแห่งล้านนา และพ่อขุนงำเมืองแห่งพะเยา โดยทรงยินยอมให้พ่อขุนเม็งรายมหาราชขยายอาณาเขตล้านนาทางแม่น้ำกก แม่น้ำปิง และแม่น้ำวังได้อย่างสะดวก เพื่อให้เป็นกันชนระหว่างจีนกับสุโขทัย กับทั้งยังได้เสด็จไปทรงช่วยเหลือพ่อขุนเม็งรายมหาราชหาชัยภูมิสร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๙ ด้วย
ทางประเทศมอญ มีพ่อค้าไทยใหญ่ชื่อ "มะกะโท" เข้ารับราชการอยู่ในราชสำนักของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มะกะโทได้ผูกสมัครรักใคร่กับพระธิดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แล้วพากันหนีไปอยู่เมืองเมาะตะมะ ต่อมาได้ฆ่าเจ้าเมืองและขึ้นเป็นแทนเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๔ แล้วจึงขออภัยโทษต่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ขอพระราชทานนาม และขอยินยอมเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัย ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงได้พระราชทานนามว่า "พระเจ้าฟ้ารั่ว"

ทางทิศใต้ ได้ทรงอาราธนาพระมหาเถรสังฆราชผู้เรียนจบพระไตรปิฎกมาจากนครศรีธรรมราช ให้มาเผยแพ่พุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย

ส่วนด้านเมืองละโว้นั้นทรงปล่อยให้เป็นเอกราชอยู่ เพราะปรากฏว่ายังส่งเครื่องบรรณาการไปจีนอยู่ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๓๔ ถึง พ.ศ. ๑๘๔๐ ทั้งนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็คงจะได้ทรงผูกไมตรีกับเมืองละโว้ไว้ นอกจากนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเองก็ทรงส่งราชทูตไปจีนสามครั้งเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี 
ประดิษฐกรรม
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ ตัวหนังสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีลักษณะพิเศษกว่าตัวหนังสือของชาติอื่นซึ่งขอยืมตัวหนังสือของอินเดียมาใช้ กล่าวคือ พระองค์ได้ทรงประดิษฐ์พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เพิ่มขึ้นให้สามารถเขียนแทนเสียงพูดของคำในภาษาไทยได้ทุกคำ กับทั้งได้นำสระและพยัญชนะมาอยู่ในบรรทัดเดียวกันโดยไม่ต้องใช้พยัญชนะซ้อนกัน ทำให้เขียนและอ่านหนังสือไทยได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น 

วรรณกรรม
วรรณกรรมสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสูญหายไปหมดแล้ว คงเหลือแต่ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ. ๑๘๓๕) ซึ่งแม้จะมีข้อความเป็นร้อยแก้ว แต่ก็มีสัมผัสคล้องจองทำให้ไพเราะซาบซึ้งตรึงใจ เช่น
...ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว...ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย...เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พิน เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด

นับเป็นวรรณคดีเริ่มแรกของกรุงสุโขทัยซึ่งตกทอดมาถึงปัจจุบันโดยมิได้มีผู้คัดลอกให้ผิดเพี้ยนไปจากเดิม
อย่างไรก็ดี ในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นต้นมา มีข้อสงสัยทางวิชาการว่าศิลาจารึกดังกล่าวจะมิได้ทำขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และมีผู้เสนอว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพบศิลานั้นเมื่อเสด็จจาริกธุดงค์ เป็นผู้ทรงทำศิลานั้นขึ้นเพื่อเหตุผลทางการเมืองในการสร้างประวัติศาสตร์ชาติไทยให้ชาติตะวันตกเห็นว่ามีและรุ่งเรืองมาอย่างยาวนาน เป็นการป้องปัดภัยการล่าอาณานิคมในสมัยนั้น ทั้งนี้ข้อสงสัยนี้กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่



อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A

ประวัติสุนทรภู่

Homepage

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติสุนทรภู่แบบย่อ

***ประวัติโดยย่อ พระสุนทรโวหาร
พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2398) เป็นกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียง ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย เกิดหลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นกวีราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต
สุนทรภู่เป็นกวีที่มีความชำนาญทางด้านกลอน ได้สร้างขนบการประพันธ์กลอนนิทานและกลอนนิราศขึ้นใหม่จนกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ เพลงยาวถวายโอวาท กาพย์พระไชยสุริยา และ พระอภัยมณี เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน และเป็นผลงานที่แสดงถึงทักษะ ความรู้ และทัศนะของสุนทรภู่อย่างมากที่สุด งานประพันธ์หลายชิ้นของสุนทรภู่ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนนับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เช่น กาพย์พระไชยสุริยา นิราศพระบาท และอีกหลาย ๆ เรื่อง
ปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบ 200 ปีชาตกาล สุนทรภู่ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ไว้ที่ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง บ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นที่กำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง นอกจากนี้ยังมีอนุสาวรีย์แห่งอื่น ๆ อีก เช่น ที่วัดศรีสุดาราม ที่จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดนครปฐม วันเกิดของสุนทรภู่คือวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็น วันสุนทรภู่ ซึ่งเป็นวันสำคัญด้านวรรณกรรมของไทย มีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่าง ๆ โดยทั่วไป ฯ

กาพย์ยานี 11



Homepage







๑. กาพย์ยานี หรือ กาพย์ยานี๑๑ คือ กาพย์ ชนิดหนึ่ง มีคำ ๑๑ คำในหนึ่งบาท จึงเรียกว่า กาพย์ยานี ๑๑ นิยมใช้ในการเล่าเรื่อง ในหนังสือประเภทคำกาพย์ ร่วมกับกาพย์ชนิดอื่นๆ หรือในหนังสือประเภทคำฉันท์ ร่วมกับกาพย์และฉันท์ชนิดอื่นๆ ในยุคปัจจุบัน นิยมแต่งกาพย์ยานีเป็นบทสั้นๆ โดยไม่ได้ร้อยกับฉันทลักษณ์ประเภทอื่นๆ

กาพย์ยานี มีลักษณะบังคับ หรือโครงสร้างของ ฉันทลักษณ์ ดังนี้คือ

คณะ
ใน ๑ บาท มี ๒ วรรค วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ รวมเป็น ๑๑ คำ
ใน ๑ บท มี ๒ บาท บาทละ ๒ วรรค รวมเป็น ๔ วรรค

สัมผัสสัมผัสระหว่างวรรค มีสัมผัส ๒ คู่ คือ
คำสุดท้ายของวรรคหน้า สัมผัสกับ คำที่สามของวรรคหลัง
คำสุดท้ายของวรรคที่สอง สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคที่สาม
สัมผัสระหว่างบท มี ๑ คู่ คือ
คำสุดท้ายของแต่ละบท สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคที่สองของบทที่ตามมา

ลักษณะอื่นๆ
กาพย์ยานีอาจมีความยาวร้อยต่อกันกี่บทก็ได้ ไม่จำกัด
บาทที่สองของแต่ละวรรค อาจไม่ต้องมีสัมผัส จากคำท้ายวรรคหน้า ไปยังคำที่สามของวรรคหลังก็ได้ ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กาพย์ยานี 11 สรุป

Homepageผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สรุปพระอภัยมณี
พระอภัยมณี เป็นวรรณคดีชิ้นเยี่ยมเรื่องหนึ่งของไทย ผลงานชิ้นเอกของพระสุนทรโวหาร หรือสุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประพันธ์ขึ้นเป็นนิทานคำกลอนที่มีความยาวมากถึง 94 เล่มสมุดไทย เมื่อพิมพ์เป็นเล่มหนังสือ จะมีความยาวกว่าหนึ่งพันสองร้อยหน้า ระยะเวลาในการประพันธ์ไม่มีการระบุไว้อย่างแน่ชัด แต่คาดว่าสุนทรภู่เริ่มประพันธ์ราวปี พ.ศ. 2364-2366[1] และแต่ง ๆ หยุด ๆ ไปตลอดเป็นระยะ สิ้นสุดการประพันธ์ราว พ.ศ. 2388 รวมเวลามากกว่า 20 ปี
เนื้อเรื่องของ พระอภัยมณี ส่วนใหญ่คือเหตุการณ์ในชีวิตของตัวละครพระอภัยมณี นับแต่อายุได้ 15 ปีและออกเดินทางไปศึกษาวิชาความรู้เช่นเดียวกับเจ้าชายในวรรณคดีไทยอื่น ๆ แต่วิชาที่พระอภัยมณีไปศึกษามา มิใช่วิทยาอาคมหรือความรู้เกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง กลับเป็นวิชาดนตรีคือ การเป่าปี่ ทำให้พระบิดากริ้วมากจนขับไล่ออกจากเมือง การผจญภัยของพระอภัยมณีก็เริ่มขึ้นนับแต่นั้น พระอภัยกับพระอนุชาคือ ศรีสุวรรณ ระเหเร่ร่อนไปจนเจอกับสามพราหมณ์ ถูกนางผีเสื้อสมุทรจับตัวไป อยู่กินกันจนมีบุตรชายชื่อสินสมุทร ได้พ่อเงือกแม่เงือกช่วยพาหนีไปยังเกาะแก้วพิสดาร และไปร่วมสมพาสกับอมนุษย์อีกครั้งคือกับนางเงือก ได้บุตรชายชื่อสุดสาคร ต่อมาพระอภัยมณีได้รับความช่วยเหลือจากเจ้ากรุงผลึกและรักกันกับลูกสาวของเจ้ากรุง คือ นางสุวรรณมาลี แต่นางมีคู่หมั้นแล้วกับชาวต่างชาติแห่งเกาะลังกา ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดสงครามใหญ่ระหว่างกรุงผลึกกับกรุงลังกาเป็นเวลานานหลายปี แต่ในที่สุดสงครามก็ยุติลงได้เมื่อ นางละเวงวัณฬา ลูกสาวเจ้ากรุงลังกาซึ่งต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองสาวสวย ตกหลุมรักกับพระอภัยมณีเสียเอง หลังสงคราม พระอภัยมณีปลงได้กับความไม่แน่นอนของโลกมนุษย์และออกบวช โดยมีภรรยามนุษย์ทั้งสองคนคือนางสุวรรณมาลีกับนางละเวงออกบวชด้วย เรื่องราวในช่วงหลังของ พระอภัยมณี เป็นการผจญภัยของรุ่นลูก ๆ ของพระอภัยมณี โดยมีสุดสาครกับนางเสาวคนธ์เป็นตัวละครหลัก เรื่องราวของสุดสาครโดยเฉพาะในช่วง กำเนิดสุดสาคร (พระอภัยมณี ตอนที่ 24-25) นับว่าเป็นวรรณกรรมเยาวชนที่โด่งดังมากอีกชุดหนึ่ง
พระอภัยมณี จัดได้ว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของสุนทรภู่ และเป็นที่รู้จักกว้างขวางมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเค้าโครงเรื่องของพระอภัยมณีแหวกประเพณีของวรรณคดีในยุคเก่า มีจินตนาการล้ำยุคอยู่มากมาย และมีตัวละครจากหลากหลายชนชาติ แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และความเปิดกว้าง ความเป็นนักคิดยุคใหม่ของผู้ประพันธ์เมื่อเปรียบเทียบกับยุคสมัยเดียวกันได้เป็นอย่างดี นักวิชาการจำนวนมากพากันศึกษากลอนนิทาน พระอภัยมณี เพื่อค้นคว้าหาแรงบันดาลใจ เชื่อมโยงแนวคิดของสุนทรภู่กับวรรณกรรมโบราณ ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ยุคใหม่ของบรรดานักเดินเรือที่เข้ามาสู่ประเทศไทยในยุคการค้าสำเภา นอกจากนี้ แนวคิดที่สุนทรภู่สอดแทรกไว้ในบทประพันธ์ทำให้ผลงานชิ้นนี้โดดเด่นและเป็นที่รู้จักมาก เพราะผู้คนล้วนใช้บทกลอนเหล่านั้นเป็นคติสอนใจ เช่น บทกลอนในช่วงที่พระฤๅษีสอนสุดสาคร เป็นต้น
เมื่อเข้าสู่ยุคของการพิมพ์ พระอภัยมณี ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวงกว้างยิ่งขึ้นโดยโรงพิมพ์ของหมอสมิท ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความนิยมของเรื่องมีมากขนาดที่หมอสมิทสามารถจำหน่ายนิทานคำกลอนเรื่องนี้ขายดิบขายดีจนมีเงินสร้างตึกได้ ในยุคต่อมา มีการดัดแปลงและถ่ายทอดวรรณกรรมชิ้นนี้ออกไปในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ทั้งเรื่องเล่า ร้อยแก้ว การ์ตูน รวมทั้งภาพยนตร์และละคร บทกลอนหลายช่วงในเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับคัดเลือกให้บรรจุอยู่ในแบบการเรียนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ กลายเป็นคติสอนใจที่ผู้คนทั่วไปจดจำกันได้

สุภาษิต

Homepage
คำสุภาษิต
 กลิ้งครกขึ้นภูเขา

วันนี้ขอนำเสนอคำพังเพยไทยที่ว่า ” กลิ้งครกขึ้นภูเขา “  บางคนอาจแปลกใจว่า ทำไมไม่ใช้  “เข็นครกขึ้นภูเขา” ซึ่งจะได้ยินกันบ่อยพอสมควร นั้นจริงๆแล้วไม่ถูกต้อง ต้องใช้คำว่า “กลิ้งครก” ไม่ใช่ “เข็นครก” เพราะครกมีลักษณะกลมต้องพลิกเลื่อนไปจึงต้องใช้คำว่า ” กลิ้ง ”


สรุปความหมาย คำพังเพย  ” กลิ้งครกขึ้นภูเขา ” นั้นหมายถึง เรื่องที่กำลังจะทำนั้นจะทำให้สำเร็จนั้นทำได้ยากลำบาก ต้องใช้ความพยายามและความสามารถอย่างมาก เปรียบเสมือนการ กลิ้งครกขึ้นภูเขา 

hamberger flat design